ขมิ้นอ้อย

ชื่อสมุนไพร

ขมิ้นอ้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์

Curcuma zedoaria

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • เหง้ามีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต (44.6 กรัม/100 กรัม), โปรตีน (4.1 กรัม/100 กรัม), น้ำตาล (4.6 กรัม/100 กรัม),  แคลเซียม ฟอสเฟต และใยอาหาร ก่อนรับประทานควรแช่น้ำหลายชั่วโมงและล้างน้ำหลาย ๆ ครั้ง เพื่อชะล้างการบูรและรสขมออก
  • น้ำมันขมิ้นอ้อยมีส่วนประกอบของการบูร, พิมเสน, pinene, cineole และ sesquiterpenes
  • เป็นส่วนประกอบของตำรับยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ดังนี้ ยามหาจักรใหญ่ สำหรับบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ, ยาเหลืองปิดสมุทร สำหรับบรรเทาอาการท้องเสีย, ยาประสะไพล สำหรับบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน, ยาประสะมะแว้ง สำหรับบรรเทาอาการไอ มีเสมหะ, ยาแก้ลมอัมพฤกษ์ สำหรับบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อหรือชา
  • งานวิจัยในผู้ชายที่มีไขมันในเลือดสูง จำนวน 30 คน ดื่มชาระหว่างอาหาร ขนาด 500 มก., 1 และ 1.5 กรัม วันละ 2 ครั้ง  เป็นเวลา 2 เดือน พบว่า ลดไขมันในเลือดได้, น้ำหนักตัวและดัชนีมวลกาย (BMI) ลดลงเล็กน้อย

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Latif MA, Morris TR, Miah AH, Hewitt D, Ford JE. Toxicity of shoti (Indian arrowroot: Curcuma zedoaria) for rats and chicks. Br J Nutr. 1979;41(1):57-63.
  2. National Drug Committee. National list of medicine. 1st ed. Bangkok: Ministry of Public Health Thailand; 2019.
  3. Tariq S, Imran M, Mushtaq Z, Asghar N. Phytopreventive antihypercholesterolmic and antilipidemic perspectives of zedoary (Curcuma Zedoaria Roscoe.) herbal tea. Lipids Health Dis. 2016;15:39.
  4. Dosoky NS, Setzer WN. Chemical composition and biological activities of essential oils of Curcuma species. Nutrients. 2018;10(9):1196.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 154604